Last updated: 1 ต.ค. 2561 | 2464 จำนวนผู้เข้าชม |
สิวอักเสบ คือ สิวที่เกิดอาการอักเสบบริเวณรูขุมขนและต่อมไขมันใต้ผิวหนัง จนปรากฏอาการออกมาเป็นสิวลักษณะต่าง ๆ ที่มักก่อให้เกิดความเจ็บปวดหากสัมผัสโดนบริเวณนั้น
สิวอักเสบมีกี่ชนิด?
สิวอักเสบ มี 4 ชนิด ได้แก่
สาเหตุของสิวอักเสบ
สิวอักเสบอาจเกิดจากการอุดตันในรูขุมขนและต่อมไขมันใต้ผิวหนังบริเวณสิวอุดตัน หรืออาจเกิดกระบวนการอักเสบขึ้นมาเองบริเวณผิวหนังปกติ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวอักเสบ เช่น กรดไขมันอิสระและไขมันผิวหนังที่ซึมเข้าสู่ชั้นผิวหนัง สารที่ผลิตโดยแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว (P.Acne) แพร่เข้าสู่ชั้นผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบ การอุดตันในรูขุมขนที่อาจนำไปสู่ปฏิกิริยาอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมไว้จนเกิดเป็นก้อนสะสมใต้ผิวหนัง สารก่ออาการอักเสบ ที่ถูกผลิตขึ้นภายในเยื่อบุเซลล์ ต่อมไขมัน หรือในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ภาวะภูมิไวเกิน หรือปฏิกิริยาที่มากเกินไปของภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่เพิ่มมากขึ้น (Testosterone) ซึ่งฮอร์โมนนี้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเจริญเติบโตในวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ ทำให้ฮอร์โมนนี้ไปกระตุ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนังให้ทำงานมากขึ้น กรรมพันธุ์ หากมีพ่อแม่ที่เป็นสิว ผู้สืบสายเลือดรุ่นต่อมามีโอกาสที่จะเป็นสิว หรือมีแนวโน้มเป็นสิวในระดับรุนแรงได้
การอุดตันของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว สิ่งสกปรกจากการมีสุขอนามัยที่ไม่ดี ใช้เครื่องสำอางที่ทำให้รูขุมขนอุดตันคุณภาพ หรือสวมใส่เครื่องแต่งกายที่รัดหรือลงน้ำหนักบนผิวหนังที่เป็นสิว เป็นต้น การใช้ยารักษาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลิเทียม ยาต้านอาการชัก เป็นต้น
การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดสิว โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมาก
การวินิจฉัยสิวอักเสบ
แม้สิวอาจเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ บนใบหน้าไม่กี่จุด แต่ผู้ที่เป็นสิวอาจเกิดความวิตกกังวล เป็นทุกข์ ขาดความมั่นใจ มีอาการเจ็บปวดจากสิวเหล่านั้น หากรักษาด้วยตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาสิวอักเสบ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพื่อรับการตรวจรักษา
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยอาการด้วยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดสิวตามจุดต่าง ๆ เช่น ใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง เพื่อตรวจดูชนิดและจำนวนของสิวที่เกิดขึ้น พร้อมกับวินิจฉัยจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพื่อหาระดับความรุนแรงของสิว โดยแบ่งเป็น
หากเป็นการวินิจฉัยสิวอักเสบ ในบางครั้ง แพทย์ผิวหนังอาจวิเคราะห์วินิจฉัยระดับความรุนแรงจากภาพถ่ายผิวหนังบริเวณที่เกิดสิว โดยจัดระดับความรุนแรงจากน้อยไปมาก (1-12) ตามสมควร ซึ่งระดับความรุนแรงต่าง ๆ จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
การรักษาสิวอักเสบ
เมื่อเป็นสิว เบื้องต้นอาจรักษาด้วยตนเองโดยใช้ยาหรือครีมตามร้านขายยาที่มีใบรับรอง โดยให้เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำ ทั้งนี้ การรักษาและการใช้ยาต้องขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสิวด้วย ถ้าเป็นสิวหัวดำ สิวหัวขาว หรือสิวอักเสบเล็ก ๆ ใช้ครีมหรือเจลที่เป็นตัวยาเบนโซอิล เพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวช่วยได้ ใช้รักษาอาการสิวที่มีความรุนแรงในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
หากซื้อยารักษาด้วยตนเองแล้วพบผลข้างเคียง เช่น หายใจติดขัด อึดอัดในลำคอ หน้าบวม ตาบวม หน้ามืดจะเป็นลม ให้หยุดใช้ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ในทันที
แต่หากมีสิวขึ้นจำนวนมาก หรือรักษาด้วยตนเองแล้วการอักเสบของสิวไม่ทุเลาลง ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจรักษา และการรักษาสิวด้วยวิธีการขั้นตอนต่าง ๆ อาจต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ ประเภท ความรุนแรงของสิว และสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวด้วย โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามประเภทของสิว สาเหตุที่ทำให้เกิดสิว และระดับความรุนแรงของการอักเสบด้วยเช่นกัน
สิวอักเสบระดับไม่รุนแรง ไปจนถึง ระดับปานกลาง
ยาเรตินอยด์ (Retinoids)
ใช้ยารูปแบบครีมหรือเจลทารักษาตรงจุดที่เกิดสิว เพื่อลดการอุดตันของสิว ยาปฏิชีวนะ รับประทานยาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวและอาการอักเสบ เช่น อิริทโทรไมซิน ด็อกซี่ไซคลีน เตตราไซคลีน ไมโนไซคลีน
สิวอักเสบระดับรุนแรง ไปจนถึง สิวซีสต์
หากใช้ยาเรตินอยด์และยาปฏิชีวนะรักษาไม่ได้ผล และผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น ๆ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
ไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin)
ยาอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ ช่วยลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมัน ป้องกันการอุดตันของรูขุมขน ลดปริมาณแบคทีเรียในชั้นผิวหนัง และลดอาการบวมแดงจากการเกิดสิว แต่ผู้ที่ใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ในหญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้โดยเด็ดขาด หรือหญิงสาวที่ต้องการตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และต้องคุมกำเนิดในระหว่างใช้ยาด้วย
การรักษาด้วยโฟโตไดนามิก (Photodynamic Therapy)
แพทย์จะทายาไว้บนผิวหนังที่เกิดสิว แล้วฉายแสง หรือฉายเลเซอร์ลงไปบนผิว เร่งปฏิกิริยาและกระตุ้นให้ยาออกฤทธิ์รักษาสิวในบริเวณนั้น ช่วยฆ่าแบคทีเรีย และยังช่วยลดขนาดและการทำงานของต่อมไขมันที่จะทำให้เกิดสิวลงด้วย
การใช้เครื่องสุญญากาศดูดสิว (Isolaz) เป็นการใช้เครื่องดูดร่วมกับการฉายแสง เครื่องจะดูดไขมันส่วนเกินใต้ผิวหนัง ในขณะที่แสงจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และช่วยลดการผลิตไขมันของต่อมไขมันลง
การฉีดสเตียรอยด์ (Steroid)
เป็นการรักษาสิวก้อนลึกและสิวซีสต์ ทำให้การบวมอักเสบของสิวหายไปโดยที่ไม่ต้องบีบสิวออกมา ด้วยการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปยังบริเวณที่เป็นสิว โดยมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ผิวบางอาจเห็นรอยเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้
การผ่าตัด
หากผู้ป่วยเป็นสิวซีสต์ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือวิธีการอื่น ๆ แพทย์อาจต้องผ่าตัดเพื่อนำสิ่งอุดตันภายในออกมา นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณารักษาสิวอักเสบด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
การฉายแสงรักษาสิว
ด้วยเทคโนโลยีแสงเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อสิว P. acnes สาเหตุของสิวอักเสบทำให้เชื้อแบคทีเรียตายอย่างรวดเร็ว มีผลกับแบคทีเรียทั้งชนิดที่ปกติและที่ดื้อยาซึ่งเป็นต้นเหตุของสิวอักเสบ โดยไม่ทำให้เชื้อ P. acnes เกิดภาวะดื้อยาตามมา
The Icon Clinic "ที่เดียวจบ ครบทุกความสวย"
สาขาเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี
042-223-703
สาขาศูนย์การค้าซีคอน บางแค
02-059-0495
Call Center
0-624-624-944
Inbox : http://m.me/theiconskin
Line : http://goo.gl/C4ktgE
IG : https://goo.gl/d5MjBo
24 ต.ค. 2561
1 ต.ค. 2561
1 ต.ค. 2561
1 ต.ค. 2561